เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 5. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ 5 สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[995] ก็ภิกษุณีใดอันภิกษุณีขอร้องอยู่ว่า ‘แม่เจ้าโปรดมาช่วยระงับ
อธิกรณ์นี้ด้วยเถิด’ รับปากแล้ว ภายหลังภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย ไม่ช่วยระงับ
ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[996] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า อันภิกษุณี คือ ภิกษุณีรูปอื่น
ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ 4 อย่าง1 คือ (1) วิวาทาธิกรณ์
(2) อนุวาทาธิกรณ์ (3) อาปัตตาธิกรณ์ (4) กิจจาธิกรณ์
คำว่า แม่เจ้าโปรดมาช่วยระงับอธิกรณ์นี้ด้วยเถิด ความว่า เชิญแม่เจ้าไป
ช่วยวินิจฉัยคดีนี้ด้วยเถิด
คำว่า ภายหลังภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย คือ เมื่อไม่มีอันตราย
คำว่า ไม่ช่วยระงับ คือ ไม่ระงับด้วยตนเอง
คำว่า ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับ คือ ไม่สั่งผู้อื่น เมื่อทอดธุระว่า
“เราจักไม่ระงับ จักไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
1 อธิกรณ์ 4 อย่าง คือ
1. วิวาทาธิกรณ์ ได้แก่ การเถียงกันว่า นี้เป็นธรรมวินัย นี้ไม่ใช่ธรรมวินัยเป็นต้น
2. อนุวาทาธิกรณ์ ได้แก่ การโจทกันด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ
3. อาปัตตาธิกรณ์ ได้แก่ การต้องอาบัติ การปรับอาบัติและแก้ต่างให้พ้นอาบัติ
4. กิจจาธิกรณ์ ได้แก่ กิจธุระของสงฆ์ เช่น อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม
ญัตติจตุตถกรรม มีการสวดปาติโมกข์เป็นต้น (ดู วิ.ป. 8/348-291/222-225)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :248 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 5. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ 5 อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[997] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ไม่ช่วยระงับ ไม่
ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับอธิกรณ์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวายให้ผู้
อื่นช่วยระงับอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุณีไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวายเพื่อการระงับอธิกรณ์ของอนุปสัมบัน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[998] 1. ภิกษุณีไม่ระงับในเมื่อมีอันตราย
2. ภิกษุณีแสวงหา(คณะผู้วินิจฉัยอธิกรณ์)ไม่ได้
3. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
4. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
5. ภิกษุณีวิกลจริต
6. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :249 }